ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

ข้ามแม่น้ำ-ข้ามร่องห้วย ในหุบเขาน้ำป่า

เอาจริงๆ ผมถอดใจตั้งแต่รถข่าวเกือบขึ้นเนินเขาแรกไม่ได้  ยิ่งถอดใจกว่านั้น ก็ตอนรถข่าวเกือบตกเหวลึกตรงโค้งถนนดินทรุดนั่นแหละ มาถึงครึ่งทางแล้ว ไม่มีโอกาสให้เราได้กลับ มีเพียงการเดินทางต่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทางเท่านั้น เส้นทางยังคงลื่นไถลหลังฝนห่าใหญ่ซัดกระหน่ำ รถจักรยานยนต์ของครู 3 คน พาพวกเราลัดเลาะไปตามไหล่เขผ่านหมู่บ้านมาเกือบ 5 หมู่แล้ว ทั้งที่อยู่ในตำบลเดียวกัน แต่ระยะทางราวกับว่าเรากำลังเดินทางข้ามจังหวัด รถทีมข่าวบนเนินเขาสูง เมฆยังคงปกคลุมขุนเขาใน อ.ท่าสองยาง จ. ตาก สภาพเส้นทางลงจากเขาใน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก รอยต่อ อ. สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เราเดินทางลงจากเขา เส้นทางเบื้องหน้าคือร่องห้วยและแม่น้ำแม่เงา  มาถึงตอนนี้ครูนุ ครูจา และครูหนึ่งพาพวกเราเดินทางมาถึงลุ่มน้ำแม่เงาที่กั้นระหว่างอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอนกับ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก แต่กว่าจะถึงแม่น้ำ เราต้องผ่านร่องห้วยแม่กอทะ  เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำแม่เงา เราต้องเดินทางข้ามแม่น้ำแม่เงาในช่วงฤดูฝน เพื่อจะผ่านไปเข้าถนนในอำเภอสบเมย แต่กว่าจะผ่านแม่น้ำสายนี้ได้ ทำเอาพวกเราถอนหายใจยกใหญ่ โดยเฉพาะคน
โพสต์ล่าสุด

โค้งแคบมรณะ

ความสูงชันของภูเขาราวกับว่าที่นี่คือหลังคาประเทศ  หากพวกเราเป็นคนกำลังเดินขึ้นตึกสูง 80 ชั้น ตอนนี้เราเพิ่งถึงชั้นที่ 20 เองมั้ง ผมนั่งซ้อนท้ายครูนุบ้าง ขี่เองบ้าง มือถือกล้องถ่ายอยู่ด้านหลัง ส่วนครูจา และครูหนึ่งขี่อยู่ข้างหน้าบ้าง ตามหลังบ้าง ไม่มีใครเป็นผู้นำ รถยนต์ของทีมข่าว มีพี่นิค พี่เปิ้ล และพี่จ้อน คอยขับประกบตามถ่ายทั้งมุมสูง และ มุมล่าง อุปสรรคของเราคือฝนตกหนัก มีเพียงกล้องโกโปรกันน้ำในมือผมที่เป็นประโยชน์ได้บ้าง   การเดินทางบนเขาในช่วงฝนตกหนักไม่ใช่เรื่องง่าย ครูนุที่ผมซ้อนท้ายมาด้วยบอกว่า ถ้าจะลื่นแบบนี้ ยอมให้เป็นโคลนดีกว่า อย่างน้อยรถเราไม่ไถลลื่นออกนอกเส้นทางเหมือนกับดินแข็งมาเจอฝน พี่เปิ้ล และพี่จ้อน กำลังช่วยกันเก็บภาพประกอบสารคดี เวลานี้เราเดินทางยังไม่ถึงไหนกันเลย เพราะฝนตกหนัก จักรยานยนต์ครูจาล้ม มือแตกเลือดไหล นี่แหละอุบัติเหตุเกิดได้ทุกเมื่อในเส้นทางเขาลื่น  ครูจายิ้มและหัวเราะทั้งที่มือตัวเองบาดเจ็บ แกบอกกับผมว่าชินแล้ว แต่สำหรับทีมข่าวมองว่ามันไม่ใช่สถานการณ์ปกติ ไหนจะต้องผ่านเขาอีกกนับสิบลูก หลังฝนตกหนัก อย่าว่าแต่พวกเราเดินทางลำบ

เกือบถอดใจดื้อๆ

นี่ผมจะถอดใจตั้งแต่เห็นแผนที่เส้นทางขึ้นไปยังโรงเรียนเลยจริงหรือ? จุดที่พวกผมต้องเดินทางเข้าออกโรงเรียนมันไกลและยากมากนะ รถยนต์บรรทุกอุปกรณ์อาจขึ้นไปไม่ได้ ครูจา ครูนุ ครูหนึ่งในโรงเรียนแม่อมกิ  ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เตือนพวกเราด้วยความเป็นห่วง ช่วงนี้คือฤดูฝน การเดินทางเข้าสู่โรงเรียนยากกว่าฤดูแล้ง 3-5 เท่า   ครูทั้ง 3 คนต้องเดินทางขึ้นไปโรงเรียนของตัวเองที่อยู่บนดอยสูง พวกเขาจะไม่เดินทางคนเดียวเป็นเด็ดขาด แต่ไม่ทันจะถึงไหนฤดูฝนก็เริ่มเล่นงานพวกเราซะแล้ว แค่เห็นเส้นทางในแผนที่ ผมอยากถอดใจให้ได้ แผนที่แส้นทางจากจุดเริ่มไปถึงจุดหมายปลายทางบนเขาสูง ถ่ายกันทั้งที่ฝนตกนี่แหละ สภาพถนนตรงเนินเขาระหว่างฝนตกหนัก ครูทั้งสามคนต้องเดินทางต่อ เพราะลูกๆของพวกเขารออยู่ที่โรงเรียน การเดินทางต่อไม่ใช่เรื่องง่าย  ชาวบ้านบนดอยขอติดรถมอเตอร์ไซต์ไปกับครูจา ถ้าลุงเดินเท้าคงใช้เวลาอย่างต่ำ 1-2 วัน การเดินทางผ่านเนินเขาในฤดูฝนไม่ใช่เรื่องง่าย ความลื่นไถลเป็นอุปสรรคสำหรับเรา ผมเริ่มถอนหายใจ ทั้งที่นั่นเป็นแค่การเริ่มต้น ซ้ำร้ายกว่านั้น รถยนต์บรรทุกอุ

เส้นทางโหดในหัวใจ

ไม่มีเส้นทางสายไหนโหดในหัวใจเท่ากับแถบชายแดนไทยพม่าทางตอนเหนือของไทย ฟังดูความคิดผมคล้ายคนฝังใจอย่างบอกไม่ถูกบนเส้นทางสายนี้แถบ อาจเป็นเพราะเราไม่คุ้นชินกับภูมิประเทศที่นั่น และเมื่อคุณตัดสินใจขึ้นไปสิ่งเดียวที่คุณทำได้คือการยอมรับกติกาของธรรมชาติ ทิวเขาจากฝั่งไทยสลับซับซ้อนไต่ระดับไปยังแนวเทือกเขาสูง  แม่น้ำสาละวินกั้นระหว่างสองประเทศระยะทางเพียง 20 กิโลเมตรขึ้นไป  ใช้เวลาเดินทางเกือบครึ่งวัน ภาษาชาวบ้านเรียก "เส้นทางแม้ว" มันคือเส้นทางของชาวไทยภูเขาบนความสูงชัน ดูเหมือนระยะทางใกล้แต่ใช้เวลาเดินทางนานกว่าพื้นที่ราบอย่างน้อย 3-5 เท่า จุดหมายปลายทางแต่ละครั้ง คือพื้นที่รอยต่อชายแดนเมียนมา  เส้นทางถนนดินจากฝีมือชาวบ้าน ตัดคดเคี้ยวไปตามไหล่เขา ฤดูฝนชาวบ้านบนดอยสูงในถิ่นทุรกันดารไม่มีใครอยากเดินทางขึ้น-ลงจากเขา หลายครอบครัวถึงขั้นขนข้าวสารอาหารแห้งจากด้านล่างไปเก็บไว้กินในระยะ 3 เดือน หลังจากฤดูฝนย่างก้าวมาเยือน เส้นทางไหล่เขาใน ต.แม่วะหลวง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงลงมาซื้ออาหารในตลาด ต.แม่วะหลวง  อ.ท่าสองยาง จ. ตาก ฝนคล้ายเพื่อนสนิท

บทพิสูจน์ทีมข่าวในสถานการณ์น้ำท่วม

"น้ำท่วม อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย  ความเสียหายเกิดขึ้นกับพื้นที่การเกษตร และบ้านเรือนของชาวบ้านครอบคลุมพื้นที่ 2 หมื่นไร่"    นั่นเป็นข่าวจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์เมื่อวันที่  23 พฤษภาคม 2560  ที่ทำให้ผมรู้ว่า   สถานการณ์น้ำป่าไหลหลากจากอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร  กำลังไหลท่วมอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย  พื้นที่รอยต่อระหว่าง 2 จังหวัด "หิน ดูน้ำท่วมนะ จุดไหนท่วมหนักเอาทีมไปไลฟ์ยูรายงานสดเข้ารายการเช้าได้เลย เช่นสถานการณ์ที่สุโขทัย"    เป็นคำสั่งจากพี่สมา ผู้อำนวยการฝ่ายข่าว  ที่ได้เรียกผมเข้าไปคุยประเด็นข่าวประจำวัน แน่นอนว่าทันทีที่ได้รับคำสั่ง ผมและทีมต้องเตรียมตัวเดินทางด่วนไปยังอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย  "พี่เปิ้ลครับ  เราต้องไปสุโขทัย ภายใน 4  ชั่วโมงนี้  เก็บของนะพี่  น้ำท่วมคีรีมาศ" "พี่ไซครับสะดวกไหมพี่  เราต้องไปภายใน  4  ชั่วโมงนี้ " "พี่ต่อครับ  เราต้องไปไลฟ์ยูเช้าน้ำท่วมที่สุโขทัย แต่เราต้องเก็บข้อมูลคืนนี่้ เพื่อเอาไว้รายงานสดเช้า"   ผมรีบโทรหาทุกคนที่อยู่ในทีมข่าว  ไม่ว่าจะเป็นพี่เปิ้ลช่างภาพ 1  พี่ไซช

คนเรามันต้องบ้ากันบ้าง...

"ไอ้บ้า"      ใครๆ ก็เรียกผมแบบนั้นมาตั้งแต่เด็ก  ทั้งที่ผมแทบไม่รู้เลยว่าทำไมเขาหาว่าผมบ้า  เพียงแค่เด็กคนหนึ่งมีความคิดไม่เหมือนคนอื่น จนถูกเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวในหมู่บ้านมองว่า "บักขวางโลก"   บางทีเขาไม่ให้ผมเข้ากลุ่มด้วยก็หลายหน  จะเรียกว่า "บักขี้ดื้อ"  คงไม่แปลก    ผมชื่อ หิน - ชนะชัย  แก้วผาง  ปัจจุบันทำงานเป็นผู้ประกาศข่าวภาคสนามของบริษัทมีเดียสตูดิโอจำกัด (บริษัทลูกของสถานีโทรทัศน์ช่อง 7  สี  )   ผลิตรายการข่าวเช้านี้ที่หมอชิต และรายการประเด็นเด็ด 7 สี   กว่า 8 ปีแล้วที่ผมใช้ชีวิตอยู่กับการเป็นนักข่าว  นับตั้งแต่จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาภาษาไทย จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อปี 2552  หลายคนอาจสงสัยว่าสาขาที่ผมเรียนมันเกี่ยวอะไรกับสายทีวี ทั้งที่ผมเองไม่มีความรู้เกี่ยวกับนิเทศศาสตร์โดยตรง   แต่สิ่งที่เรียนมามันเน้นหนักไปทางวิชาการเขียนมากกว่าด้วยซ้ำ  ผมควรต้องไปเป็นนักเขียน นักข่าวหนังสือพิมพ์ นักเขียนคอลัมน์ ฯลฯ อะไรแบบนั้นมากกว่า   ใช่ครับ ผมก็คิดแบบนั้น   แบบที่หลายคนคิด แต่ใครจะไปรู้ว่า  4